
1. สภาพทั่วไป
1.1 ขนาดและที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลบัวขาว ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของจังหวัดกาฬสินธุ์
มีพื้นที่อยู่ในตัวอำเภอเป็นวงแหวนรอบนอกของเทศบาลตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 80 กิโลเมตร ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบัวขาว ตั้งอยู่เลขที่ 134 หมู่ที่ 14 ตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ 67 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 41,875 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลนาโก อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสมสะอาด อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลแจนแลน อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลบัวขาวมีพื้นที่เป็นที่ราบสูง มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น จากทางทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ มีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่หลายแห่ง มีลำห้วยหลายสายและมีลำแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือ ลำน้ำยัง ห้วยค้อและลำห้วยหลักทอด พื้นที่ส่วนมากเหมาะสำหรับการเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์ อีกทั้งมีถนนสายหลักตัดผ่านคือ ทางหลวงสายจังหวัดมุกดาหาร – อำเภอกุฉินารายณ์ – อำเภอโพนทอง
1.3 ภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว
ฤดูร้อน มีนาคม - พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 40 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน มิถุนายน - กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส
ฤดูหนาว ตุลาคม – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
วิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลบัวขาว
“บัวขาวเมืองน่าอยู่ ควบคู่แหล่งน้ำ
นำเกษตรวิสาหกิจ เพริดพิศวัฒนธรรม”
บัวขาวเมืองน่าอยู่ ควบคู่แหล่งน้ำ หมายถึง ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพ พลานามัยร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนให้ได้มาตรฐาน และพัฒนาโรงพยาบาลตำบล มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งน้ำ สาธารณูปโภค สาธารณูปโภคการ การศึกษา ให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
นำเกษตรวิสาหกิจ หมายถึง ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสานให้การสนับสนุนและส่งเสริมการแปรรูปสินค้าด้านการเกษตร เพื่อพัฒนาด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในครัวเรือน และหัตถกรรมในครัวเรือนในตำบลบัวขาวให้ดียิ่งขึ้น
เพริดพิศวัฒนธรรม หมายถึง ส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นโดยการส่งเสริม อนุรักษ์ “ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่” และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้
3.1 ประชากร
จากสถิติของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ ที่ว่าการอำเภอกุฉินารายณ์ ตำบลบัวขาวแยกเป็นพื้นที่ ณ.เดือน มกราคม พ.ศ.2555 มีประชากร จำนวนทั้งสิ้น 8,062 คน จำนวนครัวเรือน 2,336 ครัวเรือน แยกเป็น ชาย 4,048 คน และหญิง 4,014 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 119.5 คน / ตร.กม. โดยแยกเป็นหมู่บ้านดังนี้
ตำบล / หมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวมประชากร รายชื่อผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน
หมู่ 1 63 40 43 83 นายสุบัน โคตรรุชัย
หมู่ 2 62 86 82 168 นางอุทัย อุปนิ
หมู่ 3 19 26 24 50 นางชลธิชา สิบศิริ
หมู่ 4 244 453 452 905 นายมีชัย ศรีพอ
หมู่ 5 271 526 591 1,117 นายบุญชู แสนณรงค์
หมู่ 6 267 584 554 1,138 นายศุภกิจ เหล่ารื่น
หมู่ 7 240 439 474 913 นายสุเพียร ภูมิสาขา
หมู่ 8 235 394 372 766 นางศรีอำภรณ์ ดอกคำ
หมู่ 9 11 20 12 32 นางสมหวัง อาทิตย์ตั้ง
หมู่ 10 363 572 550 1,122 นายเดช สีขาว
หมู่ 11 54 112 104 216 นายณรงค์ สอนนวล
หมู่ 12 181 286 274 560 นายกฤษฎา สุทธศรี
หมู่ 13 7 10 8 18 นายสุกิจ วงค์ระโห
หมู่ 14 233 374 341 715 นายเทพนิมิต อุปนิ
หมู่ 15 20 27 19 46 นางสุภาวดี เปรินทร์
หมู่ 16 61 99 114 213 นายสุวรรณ มาตรจุฬา
รวม 2,336 4,048 4,014 8,062
3.2 การศึกษา
ประชาชนชาวตำบลบัวขาว ได้รับการศึกษากันทุกถ้วนหน้า เพราะมีสถานศึกษาในเขตพื้นที่
สามารถให้การศึกษาแก่ประชาชนในชุมชนอย่างทั่วถึง และองค์การบริหารส่วนตำบลบัวขาวได้รับการถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษา ดังนี้
ก. การศึกษาวัยปฐมวัย
1. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จำนวน 3 แห่ง มีครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 15 คน
1.1 ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดอัมพวัน บ้านดอนอุมรัว หมู่ที่ 7
1.2 ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดกกตาล บ้านกกตาล หมู่ที่ 4
1.3 ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดโพธิ์ชัย บ้านบุ่งคล้า หมู่ที่ 5
ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. โรงเรียนบ้านบุ่งคล้าวิทยาคมมิตรภาพที่ 194 (ขยายโอกาส)
2. โรงเรียนบ้านกกตาล
3. โรงเรียนบ้านดอนอุมรัว
4. โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์
3.3 การศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลบัวขาว นับถือศาสนาพุทธ จึงมีวัดและสำนักสงฆ์ ในพุทธ
ศาสนากระจายทั่วไปในเขตพื้นที่ จำนวน 10 แห่ง ดังนี้
1. วัดบ้านกกตาล บ้านกกตาล หมู่ 4
2. วัดป่านากระตืบ บ้านกกตาล หมู่ 4
3. วัดโพธิ์ชัย บ้านบุ่งคล้า หมู่ 5
4. วัดป่าคำต้อน บ้านบุ่งคล้า หมู่ 6
5. วัดอัมพวัน บ้านดอนอุ่มรัว หมู่ 8
6. วัดบ้านโนนสวรรค์ บ้านโนนสวรรค์ หมู่ 10
7. วัดป่าหัวนาคำ บ้านหัวนาคำ หมู่ 11
8. วัดบ้านหนองโจด บ้านหนองโจด หมู่ 12
9. วัดป่าไชยวนาราม บ้านโนนสำราญ หมู่ 14
10. ศูนย์ปฏิบัติธรรม บ้านหนองหูลิง หมู่ 16
3.4 การสาธารณสุข
การดำเนินการด้านการสาธารณสุขในพื้นที่ของตำบลบัวขาวอยู่ในความรับผิดชอบของ
ศูนย์สุขภาพชุมชน ตำบลบัวขาว โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ มีบุคลากรทางสาธารณสุข จำนวน 12 คน มีนายแพทย์ผู้รับผิดชอบ 1 คน มุ่งเน้นงานปฐมพยาบาลเบื้องต้น การสุขาภิบาล การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพพร้อมกันไปกับการสาธารณสุขมูลฐาน
องค์การบริหารส่วนตำบลบัวขาวมีการปกครองในลักษณะการปกครองท้องที่ ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ตำบลบัวขาวครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 16 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านบัวขาว (นอกเขตเทศบาล)
หมู่ที่ 2 บ้านบัวขาว (นอกเขตเทศบาล)
หมู่ที่ 3 บ้านหนองหูลิง (นอกเขตเทศบาล)
หมู่ที่ 4 บ้านกกตาล
หมู่ที่ 5 บ้านบุ่งคล้า
หมู่ที่ 6 บ้านบุ่งคล้า
หมู่ที่ 7 บ้านดอนสวรรค์
หมู่ที่ 8 บ้านดอนอุมรัว
หมู่ที่ 9 บ้านบัวขาว (นอกเขตเทศบาล)
หมู่ที่ 10 บ้านโนนสวรรค์
หมู่ที่ 11 บ้านหัวนาคำ
หมู่ที่ 12 บ้านบัวขาว (นอกเขตเทศบาล)
หมู่ที่ 13 บ้านบัวขาว (นอกเขตเทศบาล)
หมู่ที่ 14 บ้านโนนสำราญ
หมู่ที่ 15 บ้านบัวขาว (นอกเขตเทศบาล)
หมู่ที่ 16 บ้านหนองหูลิง (นอกเขตเทศบาล)
มีกำนัน 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน 15 คน และสภาตำบลบัวขาว ได้รับการยกฐานะเป็น
องค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 มีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในระเบียบ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
5.1 ทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่ในเขตตำบลบัวขาว ไม่มีพื้นที่ป่าไม้ชุมชน อุทยานแห่งชาติ ไม้ใช้สอย หรือไม้
ที่นำมาก่อสร้างบ้านเรือน และที่อยู่อาศัย เป็นไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในพื้นที่ไร่นาของเกษตรกรเอง
5.2 ทรัพยากรน้ำ
5.2.1 แหล่งน้ำธรรมชาติ
แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญในตำบลบัวขาวและที่ไหลผ่านตำบลบัวขาว ได้แก่ มีหนองน้ำ
ขนาดใหญ่และเล็ก ตามขนาดกระจายไปทั่วพื้นที่ ดังนี้
1. หนองหอไตร (บ้านบุ่งคล้า) มีเนื้อที่ 150 ไร่
2. หนองอุมรัว (บ้านดอนอุมรัว) มีเนื้อที่ 260 ไร่
3. หนองแสง (บ้านโนนสวรรค์) มีเนื้อที่ 10 ไร่
4. หนองหูลิง (บ้านหนองหูลิง ) มีเนื้อที่ 60 ไร่
5. หนองยาง (บ้านบุ่งคล้า) มีเนื้อที่ 16 ไร่
6. หนองกุดใหญ่ (บ้านกกตาล) มีเนื้อที่ 4 ไร่
7. ห้วยหลักทอด (ไหลผ่าน หมู่ 8,7,14,6,5,4 ประมาณ 10 กม.)
8. ห้วยอีแจว (ไหลผ่าน หมู่ 14,5,6 ประมาณ 4 กม.)
9. ห้วยบง (ไหลผ่าน หมู่ 12,13 (นอกเขตเทศบาลประมาณ 4 กม)
10. ห้วยโปร่งดู่ (ไหลผ่าน หมู่ 15,16 ประมาณ 4 กม)
11. หนองคำต้อน (หมู่ 6 บ้านบุ่งคล้า) มีเนื้อที่ 14 ไร่
12. หนองบัว (หมู่ 6 บ้านบุ่งคล้า) มีเนื้อที่ 12 ไร่
13. หนองไผ่ล้อม (หมู่ 7 บ้านดอนอุมรัว มีเนื้อที่ 4 ไร่
ตำบลบัวขาว จากที่สำรวจไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ แต่ยังมีพื้นที่ที่เป็นหนอง สาธารณะที่มีพื้นที่ขนาดกลางเพื่อจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทพักผ่อนหย่อนใจ คือหนองอุมรัว หนองยางและหนองหอไตร มีแหล่งท่องเที่ยวที่ด้านวัฒนธรรมประเพณีแบบภูไทที่บ้านกกตาล เช่นประเพณีการแต่งงานแบบภูไทซึ่งต้องมีพ่อล่ามที่เป็นที่ปรึกษาและคอยให้ความช่วยเหลือครอบครัวคู่สมรสเป็นประเพณีที่โดดเด่น เป็นแบบอย่างขยายไปสู่สังคมอื่นๆ