
คู่มือสำหรับประชาชนเพิ่มเติม:
1. การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกของผู้มีอายุครบเจ็ดปีบริบูรณ์แต่ไม่ ได้ยื่นคำขอมีบัตรภายในกำหนดและไม่ใช่กรณีได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
2. การขอมีบัตรประจำตัว ประชาชนของบุคคลซึ่งได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ กรณีเป็นผู้ที่ได้รับอนุมัติให้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติหรือขอกลับคืน สัญชาติไทยแล้วแต่กรณี
3. การเพิ่มชื่อ กรณีคนต่างด้าวที่มีหนังสือเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยยังไม่สิ้นสุด มีความประสงค์ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ท.ร. ๑๓
4. การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้านกรณีมีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้านมากกว่า 1 แห่ง
5. การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้านเมื่อปรากฏว่าบุคคลในทะเบียนบ้านได้ตายไปแล้วแต่ยังไม่ได้จำหน่ายชื่อและรายการบุคคล
6. การขอเลขที่บ้านกรณีทะเบียนบ้านชั่วคราว
7. การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านกรณีแจ้งเกิดเกินกำหนดหรือตกสำรวจ
8. การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกกรณีที่มีอายุครบเจ็ดปีบริบูรณ์
9. การออกใบรับแจ้งการประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมัน (ค ลักษณะที่1, งและจลักษณะที่1)
10. การรับชำระภาษีบำรุงท้องที่
11. การขอใช้น้ำประปา
12. การฝากมาตรวัดน้ำประปา
13. การย้ายสถานที่ใช้น้ำประปา
14. การโอนสิทธิในการใช้น้ำประปา
15. การขอยกเลิกในการใช้น้ำประปาและขอเงินประกันคืน
16. การขอมีบัตรประจำตัว ประชาชนครั้งแรกของผู้มีอายุครบเจ็ดปีบริบูรณ์แต่ไม่ได้ยื่นคำขอมีบัตรภายใน กำหนดและไม่ใช่กรณีได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
17. การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลซึ่งได้รับ สัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ กรณีเป็นผู้ที่ได้รับอนุมัติให้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติหรือขอกลับคืน สัญชาติไทยแล้วแต่กรณี
18. การขอเลขที่บ้านกรณีทะเบียนบ้านชั่วคราว
19. การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านกรณีแจ้งเกิดเกินกำหนดหรือตกสำรวจ
20. การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกกรณีที่มีอายุครบเจ็ดปีบริบูรณ์
21. การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้านกรณีมีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้านมากกว่า 1 แห่ง
22. การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้านเมื่อปรากฏว่าบุคคลในทะเบียนบ้านได้ตายไปแล้วแต่ยังไม่ได้จำหน่ายชื่อและรายการบุคคล
คู่มือสำหรับประชาชน: การจดทะเบียนพาณิชย์ (เปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน) ตามพ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์พ.ศ. 2499 กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา
หน่วยงานที่รับผิดชอบ:งานจัดเก็บรายได้ กองคลัง
องค์การบริหารส่วนตำบลบัวขาว
คู่มือสำหรับประชาชน: การลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยความพิการ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ:งานพัฒนาชุมชน สำนักปลัด
องค์การบริหารส่วนตำบลบัวขาว
คู่มือสำหรับประชาชน: การลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ:งานพัฒนาชุมชน สำนักปลัด
องค์การบริหารส่วนตำบลบัวขาว
คู่มือสำหรับประชาชน: การโฆษณาด้วยการปิดทิ้งหรือโปรยแผ่นประกาศหรือใบปลิวในที่สาธารณะ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ:ส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
องค์การบริหารส่วนตำบลบัวขาว
คู่มือสำหรับประชาชน: การขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารตามมาตรา 33
หน่วยงานที่รับผิดชอบ:กองช่าง
องค์การบริหารส่วนตำบลบัวขาว
สถานการณ์ขยะในเขตเทศบาลตำบลมหาราชในปัจจุบันเริ่มเป็นปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ สืบเนื่องจากจำนวนขยะที่มีมากขึ้น สาเหตุประการหนึ่ง คือ ประชาชนยังไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ทำให้ขยะที่จัดเก็บมีทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง หรือแม้แต่ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ แบตเตอรี่มือถือ ถ่านไฟฉาย ฯลฯ ผลจากการไม่คัดแยกขยะก่อนทิ้ง ทำให้ขยะมีน้ำหนักมาก โดยเฉพาะขยะเปียกที่มีน้ำผสมอยู่ ดังนั้น เมื่อรถขนขยะของเทศบาลนำขยะไปทิ้งที่ทิ้งขยะต้องเสียค่าใช้จ่ายตามน้ำหนักขยะ ทำให้เทศบาลเสียงบประมาณเพื่อจัดการขยะจำนวนมาก ซึ่งน่าเสียดายว่าเงินงบประมาณที่นำไปใช้มาจากเงินภาษีของพี่น้องประชาชนทั้งสิ้น จากปัญหาดังกล่าวกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลมหาราช จึงมีแนวคิดในการลดปริมาณขยะ ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ ด้วยการขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนได้ร่วมกันลดปริมาณขยะด้วยวิธีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ซึ่งถือว่าเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ประชาชนสามารถมีส่วนในการลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ ที่สำคัญคือ เทศบาลฯ มีงบประมาณเหลือไว้ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวเทศบาลตำบลมหาราชได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่าขยะหลังจากนำมารีไซเคิลได้ จะสามารถนำไปทำเป็นอะไรได้บ้าง
1. ขยะประเภท กระป๋องอลูมิเนียม และกระป๋องเหล็ก
สามารถนำไปรีไซเคิลและผลิตเป็นกระป๋องอลูมิเนียม กระป๋องเหล็ก ชิ้นส่วนจักรยานยนต์ และอุปกรณ์ก่อสร้าง ตู้เย็น เครื่องซักผ้าเป็นต้น
2. ขยะประเภทกระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสาร กล่องกระดาษ กล่องนม
สามารถนำไปทำเป็นกล่องกระดาษที่มีความแข็งแรง กระดาษทิชชู เป็นตัน
3. เสื้อผ้า
เป็นเสื้อผ้ามือสอง
3. ขวดแก้วใส หรือสีชา
นำไปผลิตขวดใหม่ได้
4. ขวดแก้วสีอื่นๆ
นำไปผลิตเป็นพื้นกระเบื้อง
5. ขวดน้ำพลาสติก
นำไปผลิตเป็นผ้าพลาสติกได้
6. พลาสติกต่างๆ
นำไปผลิตพลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง หรือไม่ก็ผลิตเป็นปากกา
7. พลาสติกที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์
นำไปผลิตพลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง หรือไม่ก็ผลิตเป็นปากกา
สิ่งที่ควรระวังเกี่ยวกับการทิ้งขยะ
การแยกขยะเป็นสิ่งที่ควรให้การสนับสนุนแต่ต้องทำความเข้าใจระหว่างผู้ทิ้งขยะกับผู้เก็บขยะด้วย
1. การเก็บขยะที่รีไซเคิลได้นั้นจะเก็บเฉพาะขยะที่สะอาด ส่วนขยะที่สกปรกไม่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ขยะสด ขยะที่สามารถเผาได้ ขยะที่ไม่สามารถเผาได้ควรจะแยกสีถุงบรรจุขยะให้ชัดเจน
2. ขยะที่รีไซเคิลได้นั้นจะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นำกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้นไม่ควรทิ้งขยะที่จะนำมารีไซเคิลได้ปะปนกัน แยกถุงทิ้งและแสดงหน้าถุงบรรจุให้ชัดเจนว่าเป็นขยะแบบไหน
3. ควรจะแยกวันเก็บขยะให้ชัดเจนว่าวันไหนจะเก็บขยะประเภทใด
วิธีการแยกขยะ
1. กระป๋อง
กระป๋องควรจะแยกประเภทว่าเป็นอลูมิเนียมหรือว่าเหล็กและควรล้างทำความสะอาดภายในให้เรียบร้อยก่อน
2. กระดาษ
กระดาษจะแยกเป็น 4 ประเภทหลักๆคือ
2.1 กระดาษหนังสือพิมพ์และใบปลิว
2.2 นิตยสาร
2.3 กล่องกระดาษ ควรแยกเอาส่วนที่เป็นโลหะออกให้หมด เช่น แม๊กเย็บกล่อง
2.4 กล่องนม ควรคลี่ออกและล้างให้สะอาดก่อนทิ้ง
3. เสื้อผ้า
เสื้อผ้าที่จะนำไปรีไซเคิล ควรเป็นเสื้อผ้าที่ไม่สกปรก แค่มีรอยขาดนิดหน่อยหรือเป็นรู กระดุมหลุดเป็นตัน
4. ขวด
ขวดควรแยกเป็นขวดใส ขวดสีชา และขวดสีอื่นๆ และควรล้างทำความสะอาดก่อนนำมาส่ง
ควรแยกฝาที่เป็นโลหะทิ้งไปกับขยะที่ไม่สามารถเผาได้ ฝาพลาสติกทิ้งไปกับขวดพลาสติก ส่วนขวดที่แตกแล้วทิ้งไปกับขยะที่ไม่สามารถเผาได้
5. พลาสติกต่างๆ
ขวดพลาสติกควรจะล้างทำความสะอาดก่อนทิ้งพลาสติกบรรจุภัณฑ์ เฉพาะสีขาวควรล้างทำความสะอาดก่อนทิ้งถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ควรล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง
ขยะอื่นๆ ที่ต้องผ่านกระบวนการก่อนนำกลับมาใช้ และที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้
1. ขยะที่สามารถเผาได้
เป็นประเภทขยะสด ขยะที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น ของเล่น ตุ๊กตา หนังสัตว์ ผ้า แต่ควรแยกส่วนที่เป็นโลหะออกเสียก่อน
ขยะสด ควรรีดน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุดและพันด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
ไม่ควรใส่ถุงพลาสติกแล้วนำมาทิ้ง
ผ้าอ้อมที่ใช้แล้วควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนนำมาทิ้ง
2. ขยะที่ไม่สามารถเผาได้
แก้ว โลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เตารีด หม้อตัมน้ำ ทิ่ปิ้งขนมปัง ที่เป่าผม โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า วิทยุ เป็นตัน
ข้อควรระวัง แก้ว มีด ของมีคมควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนทิ้ง กระป๋องสเปรย์ควรเจาะรู 2 รูก่อนนำมาทิ้ง
3. ขยะที่มีขนาดใหญ่
เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเสียง จักรยานยนต์เป็นตัน
4. ขยะเป็นพิษ
ถ่านไฟฉาย หลอดไฟฟ้า ควรใส่ถุงพลาสติกก่อนนำมาทิ้ง ถ้าหลอดแตกให้ทิ้งเป็นขยะเผาไม่ได้
ผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากขยะพิษประเภทต่าง ๆ
ประเภทของสาร ผลิตภัณฑ์ที่พบ ผลต่อสุขภาพ
1. สารปรอท
หลอดฟลูออเรสเซนต์ ปวดศรีษะ ง่วงนอน อ่อนเพลีย
หลอดนีออน ซึมเซา อารมณ์แปรปรวน จิตใจไม่สงบ
กระจกส่องหน้า ประสาทหลอน สมองสับสน สมองอักเสบ
2. สารตะกั่ว
แบตเตอรี่รถยนต์ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ซีดลง ปวดหลัง
ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ มีอาการทางสมอง
ตะกอนสี หมึกพิมพ์ ฯลฯ ทำให้ความจำเสื่อม ชักกระตุกและหมดสติลง
3. สารแมงกานีส
ถ่านไฟฉาย ตะกอนสี ปวดศรีษะ ง่วงนอน จิตใจไม่สงบ
เครื่องเคลือบดินเผา ประสาทหลอน เกิดตะคริวที่แขน ชา สมองสับสน สมองอักเสบ
4. สารแคดเมียม
ถ่านนาฬิกาควอตซ์ ทำให้เกิดโรคอิไต-อิไต อาการปวดในกระดูก
5. สารฟอสฟอรัส
ยาเบื่อหนู ตะกอนสี ฯลฯ เหงือกบวม เยื้อบุปากอักเสบ
6. สารเคมี
สเปรย์ ยาย้อมผม ยาทาเล็บ เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
ประเภทอื่น ๆ ยาล้างเล็บ ยาฆ่าแมลง และเยื่อบุทางเดินหายใจ ปวดศรีษะ
ยารักษาโรค ยากำจัดวัชพืช หายใจขัด เป็นลม ฯลฯ
ขั้นตอนการแยกขยะอย่างง่ายแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1) ขยะเศษอาหาร พืช ผัก ผลไม้ หรือที่แต่เดิมเรียกว่า ขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร พืช ผัก เปลือก ผลไม้ อินทรียวัตถุที่ย่อยสลายเน่าเปื่อยง่าย มีความชื้นสูงและส่งกลิ่นเหม็นได้รวดเร็ว
2) ขยะยังใช้ได้หรือเรียกว่าขยะรีไซเคิล หรือที่ แต่เดิมเรียกว่า ขยะแห้ง ได้แก่ พวก แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก เศษผ้า ฯลฯ ซึ่งเราสามารถเลือกวัสดุที่ยังมีประโยชน์กลับมาใช้ใหม่ได้อีก
3) ขยะที่มีพิษภัยอันตรายซึ่งเกิดจากบ้านเรือน ได้ตั้งถังสีเทาฝาสีส้ม ไว้สำหรับให้ประชาชนนำขยะ ที่พิษภัยอันตรายซึ่งเกิดจากบ้านเรือนมาทิ้ง โดยตั้งไว้ตามสถานีบริการน้ำมัน และสถานที่อื่น ๆ ซึ่งขยะพวกนี้ ได้แก่ หลอดไฟ และหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เสียแล้ว แบตเตอรี่รถยนต์ และถ่านไฟฉายที่หมดอายุ กระป๋องยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืช ภาชนะใส่แลกเกอร์ และทินเนอร์ ภาชนะใส่น้ำมันเครื่อง และน้ำมันเบรก น้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ ยารักษาโรค ที่เสื่อมคุณภาพ ฯลฯ รวมทั้งได้จัดให้มีวันทิ้งของเหลือใช้ เพื่อให้ประชาชนนำขยะประเภทนี้มาทิ้ง จากนั้นก็จะจ้างบริษัทเอกชนนำไปทำลายอย่างถูกหลักวิชาการต่อไป
วิธีการลดขยะได้ด้วย 4 Rs
"ปัญหาขยะจะหมดไปด้วยจิตสำนึกไทยรีไซเคิล"
1. Reduce ลดการใช้ ลดการบริโภคสินค้าที่ฟุ่มเฟือย ใช้อย่างประหยัด และใช้เท่าที่จำเป็น เช่น ทำอาหารให้พอดีรับประทาน เลือกซื้อสินค้าที่ไม่บรรจุห่อหลายชั้น ใช้ผ้าเช็ดหน้า แทนกระดาษทิชชู พกถุงผ้าไปตลาด
2. Repair การซ่อมแซม การซ่อมแซมวัสดุสิ่งของที่ชำรุด ให้อยู่ในสภาพที่ดีใช้งานได้นาน ไม่ต้องทิ้งเป็นขยะหรือต้องสิ้นเปลืองซื้อใหม่
3. Reuse การใช้ซ้ำ การนำสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เช่น ขวดแก้วนำไปล้างไว้ใส่น้ำดื่ม
4. Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ การนำขยะมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช่ใหม่ทำให้ไม่ต้องนำทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตสิ่งของต่าง ๆ แต่ใช้ขยะเป็นวัตถุดิบทดแทนในการผลิตสิ่งของต่าง ๆ
แนวทางการใช้ประโยชน์จากวัสดุรีไซเคิล
โดยทั่วไปการแยกขยะที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชุมชน โรงเรียน ตลาดโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า และสถานที่อื่น ๆ นั้นแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ขยะเศษอาหาร แยกเพื่อนำไปกำจัดโดยวิธีปุ๋ยหมัก
2. ขยะยังใช้ได้ หรือขยะรีไซเคิลแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ โดยการนำกลับเข้าสู่ขบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล คือ การนำขยะหรือวัสดุที่ใช้แล้ว มาผ่านกระบวนการผลิตเป็นสินค้าใหม่ โดยโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีขบวนการผลิต 4 ขั้นตอน ได้แก่ การรวบรวม การแยกวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน การผลิตหรือปรับปรุง และสุดท้าย การนำมาใช้ประโยชน์ โดยในส่วนของขั้นตอนการผลิต นั้นวัสดุพวกแก้ว กระดาษ พลาสติก และโลหะ จะผ่านกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน
3. ขยะพิษ แยกเพื่อรวบรวมส่งกำจัดด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจใช้ได้ทั้งวิธีการฝังกลบโดยวิธีพิเศษ และการเผา
หลังจากวัสดุผ่านกระบวนการผลิต จะได้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยจะพบสัญลักษณ์รีไซเคิล ปรากฏอยู่บนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลทุกชิ้น
การนำกลับมาใช้ใหม่ การนำขยะมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช่ใหม่ทำให้ไม่ต้องนำทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตสิ่งของต่าง ๆ แต่ใช้ขยะเป็นวัตถุดิบทดแทนในการผลิตสิ่งของต่าง ๆ
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาว์นโหลดด้านล่างจากกรมควบคุมมลพิษ ในคู่มือประชาชน เพื่อการลด คัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยในชุมชน
คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
- จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
- ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
- ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
- ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
- ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
- หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
* คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
* สมรสกับคู่สมรสเดิม
* มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
* ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
* ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
- สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
- หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล(กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส
- การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
- คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
- คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรองการแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
ค่าธรรมเนียม
- การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
- การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ - ส่ง นายทะเบียน
- การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างใกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท
เอกสารประกอบการดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 1 (สำหรับเจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล)
สำเนาทะเบียนบ้าน
บัตรประจำตัวประชาชน
หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล(แบบ ช.2)
ขั้นตอนที่ 2 (สำหรับผู้ขอร่วมชื่อสกุล)
สำเนาทะเบียนบ้าน
บัตรประจำตัวประชาชน
หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
ขั้นตอนการติดต่อ
เจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.5 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2)
นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอหลักฐานการจดทะเบียนชื่อสกุล เมื่อเห็นว่าถูกต้อง จะพิจารณา อนุญาตและออกหนังสืออนุญาต ให้ร่วมใช้ชื่อสกุล ตามแบบที่กรม
การปกครองกำหนดให้แก่เจ้าของ ชื่อสกุลเพื่อมอบให้ผู้ที่จะขอร่วมใช้ชื่อสกุล
ขั้นตอนที่ 3
ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมหนังสือ อนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล นายทะเบียนตรวจสอบคำขอและหลักฐาน การอนุญาตเมื่อเห็นว่าถูกต้อง จะพิจารณาอนุญาตและออกหนังสือสำคัญ แสดงการอนุญาตให้แก่ผู้ขอ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท ผู้ขอนำหนังสือสำคัญไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องรวมทั้งขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน
การสิ้นสุดการสมรสมี 3 วิธี คือ
1. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
2. การจดทะเบียนหย่า
3. ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส
การหย่า ปฏิบัติได้ 2 วิธี คือ
1. การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายกระทำได้ 2 วิธี คือ การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
2. การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เอกสารที่ใช้เพื่อการจดทะเบียนหย่า คือ
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบสำคัญการสมรส
- หนังสือหย่าหรือหนังสือสัญญาหย่า
การจดทะเบียนหย่า
ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนหย่า
กรณีการจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
- คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า
- คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน
ในกรณีการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน
- คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า
- คู่หย่าตกลงกันก่อนว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องก่อนหลัง และแต่ละฝ่ายจะยื่นคำร้อง ณ
- สำนักทะเบียนใด
- คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนตามที่ได้ตกลงกัน
กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
- หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คู่หย่าไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก และหากให้คู่สมรสหย่าขาดจากกัน โดยมีเงื่อนไขให้ไปจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียน การสมรสจึงจะสิ้นสุด
ต้องนำเอกสารมาดังต่อไปนี้
1. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอ (เจ้าบ้าน)
3. ใบอนุญาติให้ปลูกสร้างอาคาร (สำนักการช่างออกให้)
4. หนังสือรับรองอาคาร (สำนักการช่างออกให้)
5. ใบยื่นคำร้อง (ทร. 9) (ขอรับที่งานทะเบียนราษฎร)
กรณี เจ้าบ้านไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองได้ ให้มีหนังสือมอบอำนาจ ของเจ้าบ้าน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบ และผู้รับ
การขอหมายเลขประจำบ้าน ระยะเวลาตั้งแต่ยื่นขอ และอนุมัติให้ ภายใน 15 วัน
การแก้ไขรายการ
ในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ทุกรายการ
เจ้าบ้านหรือผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าตัว บิดา - มารดา สามี - ภรรยา เป็นผู้ขอแก้ไขรายการ กรณีเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดา มารดา ดำเนินการแก้ไขรายการได้ พร้อมนำเอกสารมา ดังนี้
1. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. สูติบัตร (ใบเกิด) หรือ
3. หลักฐานทางการศึกษา (ใบสุทธิ) หรือสำเนาทะเบียนนักเรียน หรือ
4. หลักฐานทางการทหาร (ส.ด. 8 หรือ ส.ด. 9) หรือ
5. ใบสำคัญทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญหย่า หรือ
6. ใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล
การจดทะเบียนรับรองบุตร ปฏิบัติได้ 3 วิธี คือ
1. การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน
2. การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียน
3. การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
หนังสือแสดงความยินยอมของบุตร
หนังสือแสดงความยินยอมของมารดาของบุตร
ขั้นตอนในการติดต่อ
บิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือ สำนักทะเบียนเขต เด็กและมารดาเด็ก ต้องให้ความยินยอมในการจดทะเบียนทั้งสองคน ถ้าเด็กหรือมารดา เด็กคนใดคนหนึ่ง ไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น เด็กเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา มารดาเด็กถึงแก่กรรม เป็นต้น การจดทะเบียนรับรองบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล
็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา มารดาเด็กถึงแก่กรรม เป็นต้น การจดทะเบียนรับรองบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล
การบริการ
1. เมื่อมีคนเกิดในบ้านให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่เกิดภาย ใน 15 วัน นับแต่วันเกิด
2. เมื่อมีคนเกิดนอกบ้านให้บิดาหรือมารดาหรือผู้ที่ ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง แห่งท้องที่ที่เกิด หรือแห่งท้องที่ที่พึงได้ใน 15 วัน นับแต่วันเกิด หรือ ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา ( ถ้ามี )
3. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล ( ถ้ามี )
4. หนังสือยินยอมให้บุตรใช้ชื่อสกุลของบิดา ( กรณีไม่จดทะเบียนสมรส )
ขั้นตอนการติดต่อ
1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียน
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนบ้าน และลงรายการในสูติบัตร ทั้ง 3 ตอน แล้วเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนและสำเนา ทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จึงมอบสูติบัตร ตอนที่ 1 และสำเนาทะเบียนบ้านให้กับผู้แจ้ง
การบริการ
-เป็นการแจ้งการเกิดเมื่อเวลาผ่านพ้นไปจากที่ กฎหมายกำหนดไว้ ( 15 วัน ) ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา ( ถ้ามี )
3. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล ( ถ้ามี )
ขั้นตอนการติดต่อ
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานแล้วเปรียบเทียบคดี ความผิด และสอบสวนผู้แจ้ง บิดา มารดา ให้ทราบสาเหตุที่ไม่แจ้งการเกิดภายในเวลาที่กำหนด ในกรณีที่บิดาหรือมารดาไม่อาจมาให้ถ้อยคำในการ สอบสวนได้ ไม่ว่าจะด้วยกรณีใด นายทะเบียนจะบันทึกถึงสาเหตุดังกล่าวไว้ และนำเสนอนายอำเภออนุมัติออกสูติบัตรต่อไป
การบริการ
1. เมื่อมีคนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่ง ท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ในกรณีไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาพบศพ
2. เมื่อมีคนตายนอกบ้านให้ผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือ ผู้พบศพเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่ตาย หรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ที่พึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพในกรณีนี้จะแจ้งต่อ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตาย มีชื่อและรายการบุคคล(ถ้ามี)
2. หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
3. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
ขั้นตอนการติดต่อ
1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียน เพื่อตรวจสอบและลงรายการในมรณบัตร
2. จำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยจะ ประทับคำว่า "ตาย" สีแดงไว้หน้ารายการคนตาย
3. มอบมรณบัตร ตอนที่ 1 ทะเบียนบ้านและบัตร ประชาชนคืนผู้แจ้ง
การบริการ
- เมื่อมีผู้ย้ายเข้าหรือย้ายออกให้เจ้าบ้านแจ้งต่อ นายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นย้ายออก โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
3. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน ( ถ้ามี )
4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับ มอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบอำนาจ)
5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่ กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง ทั้งนี้ผู้ย้าย ที่อยู่สามารถร้องขอทำหน้าที่เจ้าบ้านเพื่อ แจ้งย้ายที่อยู่ของตนเองได้
ขั้นตอนการติดต่อ
1. ยื่นเรื่องต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้าน ( ถึงแม้ว่าเจ้าของบ้าน ไม่สามารถไปแจ้งย้ายออกให้ได้ผู้ที่อยู่สามารถขอ ทำหน้าที่เจ้าบ้าน เพื่อย้ายชื่อตนเองออกได้
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการบุคคลที่จะย้ายออกลงรายการใน ใบแจ้งการย้ายที่อยู่และจำหน่ายรายการบุคคล ที่ย้ายออกในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน ) โดยจะประทับคำว่า "ย้าย" สีน้ำเงินไว้หน้ารายการ และระบุว่าย้ายไปที่ใด
3.นายทะเบียนมอบหลักฐานการแจ้งคืนผู้แจ้ง พร้อมทั้งใบแจ้งการย้ายที่อยู่ตอนที่ 1และ 2 เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าต่อไป
การบริการ
- ผู้ที่ย้ายที่อยู่ สามารถไปแจ้งย้ายออกและย้ายเข้า ณ สำนักทะเบียนแห่งที่อยู่ใหม่ โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปแจ้งย้ายออกจากทะเบียน บ้านเดิมทั้งนี้ผู้ย้ายที่อยู่ควรเป็นผู้แจ้งย้ายด้วยตนเอง
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน(ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะ ย้ายไปอยู่ใหม่ พร้อมคำยินยอมเป็นหนังสือ เจ้าบ้าน
3. บัตรประจำตัวประชาขน
ขั้นตอนการติดต่อ
1. ยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานและลงรายการ ในใบแจ้งการย้ายที่อยู่โดยให้ผู้แจ้งลงลายมือชื่อ ในช่องผู้แจ้งย้ายออกและช่องผู้แจ้งย้ายเข้าสำหรับช่อง เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้าให้เขียนชื่อ-สกุลตัวบรรจง และเสียค่าธรรมเนียม 5 บาท
3. ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 15 วัน (สำนักทะเบียนที่ยังไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์)
4. ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 10 นาที (สำนักทะเบียนที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์)
การบริการ
1. ผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ ต้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชนหาก ไม่ขอมีบัตรภายใน 60 วัน จะถูกปรับไม่เกิน 500 บาท
2. ยื่นคำขอที่อำเภอ กิ่งอำเภอ เขต หรือเทศบาล ที่ตนเองมีชื่อในทะเบียนบ้าน
3. ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. แสดงหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบเกิด ใบสุทธิ เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคล เดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
3. กรณีเป็นบุตรบุคคลต่างด้าว ต้องมีหนังสือสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าว ของบิดาและมารดาแสดงด้วย
4. กรณีไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรอง
การบริการ
- แจ้งความที่อำเภอ กิ่งอำเภอ เทศบาล แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือสถานีตำรวจภูธร ให้ยื่นเรื่องขอมีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหาย หรือถูกทำลาย หากเลยกำหนด จะเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. สำเนาหลักฐานการแจ้งความบัตรหาย
3. นำหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ไปด้วย (ถ้ามี) เช่น ใบเกิด ใบสุทธิ หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรเดิมที่สูญหาย
4. เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
5. หากค้นหาหลักฐานเดิมที่เคยทำบัตรเก่าไม่พบ ต้องนำเจ้าบ้านหรือผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ญาติพี่น้องไปรับรองด้วย
การบริการ
- เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ ผู้ถือบัตรต้องขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมหากไม่ขอมีบัตรภายในกำหนด 60 วันจะถูกปรับไม่เกิน 200 บาท
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
การบริการ
- หากเปลี่ยนชื่อตัวหรือนามสกุล ให้ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อหรือนามสกุลในทะเบียนบ้าน หากไม่ยื่นภายในกำหนดต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
หลักฐาน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. บัตรฯ เดิม
3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล
4. เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
การก่อสร้าง การดัดแปลง การรื้อถอน เคลื่อนย้าย และการใช้สอยอาคารภายในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลเสียก่อน จึงจะดำเนินการได้ ทั้งนี้เพราะเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคง แข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกในการจราจร เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยในอาคาร
การขออนุญาตก่อสร้างอาคารดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคารในเขตเทศบาลเมืองเมืองพล มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ให้ยื่นคำร้องขออนุญาต (ข.1) ที่งานสถาปัตยกรรม ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้างสำนักการช่าง
2. หลักฐานอื่นๆ ที่ต้องมายื่นประกอบแบบแปลนมีดังนี้
- แบบแปลนก่อสร้าง 5 ชุด
- ภาพถ่ายเอกสารสำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขออนุญาต 1 ชุด
- ภาพถ่ายเอกสารโฉนดที่ดิน , นส.3 ถ่ายต้นฉบับจริงทุกหน้า 1 ชุด
- รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
กรณีสร้างในที่ของบุคคลอื่น มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- หนังสือยินยอมเจ้าของที่ดิน
- ภาพถ่ายเอกสาร สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 ชุด
- รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
กรณีตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกันกับบุคคลอื่นมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- หนังสือตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกัน 1 ชุด
- ภาพถ่ายเอกสาร สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินผู้ขอทำความตกลง 1 ชุด
- ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 ชุด
- รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
ภาษีป้าย เป็นภาษีที่จัดเก็บป้าย อันหมายถึงแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือ โฆษณาการค้า หรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพ หรื่อเครื่องหมายที่เขียนแกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ
ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี
กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่ จะต้องยื่น ภ.ป. 1 ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ติดตั้งใหม่
การชำระเงินค่าภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายต้องชำระค่าภาษีภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หรือจะชะระภาษีในวันที่ยื่นแบบเลยก็ได้
อัตราค่าภาษีป้าย
ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพหรือเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ หรือป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ ตารางเซนติเมตร
เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด
ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่ม อีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการ
ค่าธรรมเนียมขยะมูลฝอย
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของอาคารสถานที่ และประโยชน์ในการรักษาความสะอาดในเขตเทศบาล โปรดให้ความร่วมมือชำระค่าธรรมเนียมเก็บและขนมูลฝอยเป็นประจำทุกเดือนและรับใบเสร็จรับเงินทุกครั้งจากเจ้าหน้าที่
ภาษีบำรุงท้องที่ คืออะไร?
พระราชบัญญัติ ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508
ที่ดิน หมายความว่า พื้นที่ดิน และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือที่มีน้ำด้วย
เจ้าของที่ดิน หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือครอบครองอยู่ในที่ดินไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน
เจ้าของที่ดินใดบ้างที่ไม่เสียภาษี
1. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
2. ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐ หรือสาธารณะโดยมิได้มาซึ่งผลประโยชน์
3. ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่น หรือสาธารณะ โดยมิได้หาผลประโยชน์
4. ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ
5. ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัด ไม่ว่าจะใช้ประกอบศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือไม่ หรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์
6. ที่ดินที่ใช้เป็นสุสาน หรือ ฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
7. ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือใช้เป็นสนามบินของรัฐ
8. ที่ดินที่ใช่ต่อเนื่องกับโรงเรือน ที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว
9. ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้ หรือหาผลประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วนนั้น
10. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง
ภาษีบำรุงท้องที่ลดหย่อนภาษีได้
ที่ดินนอกเขตเทศบาลหรือเขตสุขาภิบาลให้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 5 ไร่ แต่จะน้อยกว่า 3 ไร่ ไม่ได้
ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างและสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นสถานการค้าหรือให้เช่า ไม่ได้รับการลดหย่อนสำหรับส่วนของที่ดิน ที่มีสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสถานการค้าหรือให้เช่านั้น
ขั้นตอนการชำระภาษีทำอย่างไร?
1. ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ภายในเดือนมกราคม ทุกๆ 4 ปี
2. หากไม่ยื่นภายในกำหนด เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีที่ต้องชำระ
3. ยื่นชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี หากไม่ยื่นชำระภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระ
โรงเรือนและที่ดิน หมายถึงอะไร?
พระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรียนและที่ดิน พ.ศ.2475
โรงเรือน หมายถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรือน แฟลต หรืออพาร์ทเม้นท์ คอนโดมิเนียม หอพัก สิ่งปลูกสร้าง เช่นท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำมัน คานเรือ
เจ้าของโรงเรือนมีหน้าที่อะไรบ้าง?
เจ้าของโรงเรือนมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยเสียเป็นรายปี
ภาษีโรงเรือนและที่ดินคืออะไร?
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ
ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้น
1. พระราชังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
2. ทรัพย์สินของรัฐบาล ซึ่งใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง
3. ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะ และโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช้เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล และใช้ในการักษาพยาบาล และในการศึกษา
4. ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียง หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
5. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปี
6. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เอง โดยมิให้เช้าเป็นที่เก็บสินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอันเพื่อหารายได้
7. โรงเรียนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งเจ้าของอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา และซึ่งมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรม
ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อไหร่?
กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ว่าให้ยื่นแบบภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
ข้อควรรู้
1. หากเจ้าของทรัพย์สิน อันได้แก่โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และที่ดิน เป็นเจ้าของเดียวกัน เจ้าของทรัพย์สินนั้น ก็เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี
2. แต่ถ้าที่ดิน และโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ เป็นคนละเจ้าของ กฎหมายกำหนดให้เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ต้องเป็นผู้เสียภาษี
ขั้นตอนการชำระภาษี
1. ยื่นแบบ (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
2. ต้องชำระภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าหากชำระเกินกำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ต่อเดือนของภาษีที่ค้างชำระ สูงสุดร้อยละ 10
ภาษีบำรุงท้องที่ คืออะไร?
พระราชบัญญัติ ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508
ที่ดิน หมายความว่า พื้นที่ดิน และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือที่มีน้ำด้วย
เจ้าของที่ดิน หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือครอบครองอยู่ในที่ดินไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน
เจ้าของที่ดินใดบ้างที่ไม่เสียภาษี
1. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
2. ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐ หรือสาธารณะโดยมิได้มาซึ่งผลประโยชน์
3. ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่น หรือสาธารณะ โดยมิได้หาผลประโยชน์
4. ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ
5. ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัด ไม่ว่าจะใช้ประกอบศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือไม่ หรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์
6. ที่ดินที่ใช้เป็นสุสาน หรือ ฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
7. ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือใช้เป็นสนามบินของรัฐ
8. ที่ดินที่ใช่ต่อเนื่องกับโรงเรือน ที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว
9. ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้ หรือหาผลประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วนนั้น
10. ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง
ภาษีบำรุงท้องที่ลดหย่อนภาษีได้
ที่ดินนอกเขตเทศบาลหรือเขตสุขาภิบาลให้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 5 ไร่ แต่จะน้อยกว่า 3 ไร่ ไม่ได้
ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างและสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นสถานการค้าหรือให้เช่า ไม่ได้รับการลดหย่อนสำหรับส่วนของที่ดิน ที่มีสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสถานการค้าหรือให้เช่านั้น
ขั้นตอนการชำระภาษีทำอย่างไร?
1. ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ภายในเดือนมกราคม ทุกๆ 4 ปี
2. หากไม่ยื่นภายในกำหนด เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีที่ต้องชำระ
3. ยื่นชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี หากไม่ยื่นชำระภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระ
โรงเรือนและที่ดิน หมายถึงอะไร?
พระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรียนและที่ดิน พ.ศ.2475
โรงเรือน หมายถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรือน แฟลต หรืออพาร์ทเม้นท์ คอนโดมิเนียม หอพัก สิ่งปลูกสร้าง เช่นท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำมัน คานเรือ
เจ้าของโรงเรือนมีหน้าที่อะไรบ้าง?
เจ้าของโรงเรือนมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยเสียเป็นรายปี
ภาษีโรงเรือนและที่ดินคืออะไร?
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ
ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้น
1. พระราชังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
2. ทรัพย์สินของรัฐบาล ซึ่งใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง
3. ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะ และโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช้เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล และใช้ในการักษาพยาบาล และในการศึกษา
4. ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียง หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
5. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปี
6. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เอง โดยมิให้เช้าเป็นที่เก็บสินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอันเพื่อหารายได้
7. โรงเรียนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งเจ้าของอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา และซึ่งมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรม
ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อไหร่?
กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ว่าให้ยื่นแบบภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
ข้อควรรู้
1. หากเจ้าของทรัพย์สิน อันได้แก่โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ และที่ดิน เป็นเจ้าของเดียวกัน เจ้าของทรัพย์สินนั้น ก็เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี
2. แต่ถ้าที่ดิน และโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ เป็นคนละเจ้าของ กฎหมายกำหนดให้เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ต้องเป็นผู้เสียภาษี
ขั้นตอนการชำระภาษี
1. ยื่นแบบ (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
2. ต้องชำระภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าหากชำระเกินกำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ต่อเดือนของภาษีที่ค้างชำระ สูงสุดร้อยละ 10
กระบวนการให้บริการ เวลาปฏิบัติงานเดิม เวลาที่ปรับลด
สำนักปลัด
1.การแจ้งเกิด 10 นาที / ราย 8 นาที / ราย
2.การแจ้งตาย 10 นาที่ / ราย 8 นาที / ราย
3.การย้ายที่อยู่ 10 นาที / ราย 8 นาที / ราย
4.การกำหนดเลขที่บ้าน 3 วัน / ราย 2 วัน / ราย
5.การทำบัตรประจำตัวประชาชน 10 นาที / ราย 8 นาที / ราย
6.การคัดรับรองรายงาน ,หลักฐานข้อมูล 10 นาที / ราย 8 นาที / ราย
7.การสนับสนุนน้ำอุปโภคบริโภค 1 วัน 3 ชม./ วัน
8.การช่วยเหลือสาธารณภัย 1 ชม. ในทันที
9.การรับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ ให้แจ้งตอบรับ
การดำเนินการให้ผู้ร้อง
เรียนทราบภายใน 7 วัน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
1.ขออนุญาตประกอบกิจการ 30 วัน / ราย 20 วัน / ราย
ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขออนุญาตใหม่
/ต่อใบอนุญาติ
2.การขออนุญาติจัดตั้งตลาด 30 วัน / ราย 20 วัน / ราย
ขออนุญาตใหม่/ต่อใบอนุญาต
3.การขออนุญาตจัดตั้งตลาด 30 วัน / ราย 20 วัน / ราย
ขออนุญาตใหม่/ต่อใบอนุญาต
4.การขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่ 30 วัน / ราย 20 วัน / ราย
หรือทางสาธารณะ ขออนุญาตใหม่/ต่อใบอนุญาติ
กองคลัง
1.จัดเก็บภาษีบำรุงท้องถิ่น 8 นาที / ราย 6 นาที / ราย
2.จัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน 8 นาที / ราย 6 นาที / ราย
3.จัดเก็บภาษีป้าย 8 นาที / ราย 6 นาที / ราย
กองช่าง
1.ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร กรณีขอนุญาตก่อสร้างตาม
กรณีทั่วไป แบบกรมโยธาธิการและผังเมือง
- ขั้นตอนตรวจสอบเอกสาร/พื้นที่ก่อสร้าง ระยะเวลา 10 วัน
- ขั้นตอนพิจารณาออกใบอนุญาต
กองประปา
1.ขออนุญาตใช้น้ำประปา 3 วัน
2.ซ่อมแซมระบบประปาชำรุด 3 วัน
- ผู้ประกอบการยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
* รายเก่า : ก่อนใบอนุญาตหมดอายุ
* รายใหม่ : ก่อนเปิดดำเนินการ
- ตรวจสอบแล้วถูกต้องตามเกณฑ์ พิจารณาออกใบอนุญาตภายใน 30 วัน
- ใบอนุญาตมีกำหนดอายุ 1 ปี
- อัตราค่าใบอนุญาติ และค่าธรรมเนียมเป็นไปตามเทศบัญญัติ
กิจการที่ต้องขออนุญาต
- กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
- การจำหน่ายสินค้าในที่ หรือทางสาธารณะ
- ผู้ประกอบการยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
* รายเก่า : ก่อนใบอนุญาตหมดอายุ
* รายใหม่ : ก่อนเปิดดำเนินการ
- ตรวจสอบแล้วถูกต้องตามเกณฑ์ พิจารณาออกใบอนุญาตภายใน 30 วัน
- ใบอนุญาตมีกำหนดอายุ 1 ปี
- อัตราค่าใบอนุญาติ และค่าธรรมเนียมเป็นไปตามเทศบัญญัติ
กิจการที่ต้องขออนุญาต
- กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
- การจำหน่ายสินค้าในที่ หรือทางสาธารณะ
ให้ยื่นคำร้องขออนุญาติใช้เครื่องขยายเสียงตามแบบ ฆ.ษ. 1 โดยเสียค่าธรรมเนียมดังนี้
1. เพื่อการกุศล ไม่เกิน 15 วัน ครั้งละ 10 บาท
2. เพื่อกิจการทั่วไป (ประจำที่) ไม่เกิน 15 วัน ครั้งละ 75 บาท
3. เพื่อกิจการทั่วไป (เคลื่อนที่) ไม่เกิน 5 วัน ครั้งละ 60 บาท